วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552
บทที่ 2
สื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึก ปฏิบัติ
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์
1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง
2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตราย ไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า
3. ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น
4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้ อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด
5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง
6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง
7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์
8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
9. ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น
10.วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตาม เราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา การพิจารณาในการเลือกใช้ลำดับประสบการณ์ ในการเรียนการสอน ไม่ถือว่าประสบการณ์ขั้นแรกมีความสำคัญ และจำเป็นกว่าขั้นหลัง ๆ เราอาจจะใช้ขั้นใดก็ได้ที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องใช้หลาย ๆ ประสบการณ์ปะปนกันตามความเหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ เนื้อหา และสถานการณ์ในการสอน ประสบการณ์ตรงบางครั้งก็ไม่เหมาะที่จะจัดให้นักเรียน เช่น อาจเสี่ยงอันตราย หรือผิดศีลธรรม และต้องไม่ถือว่าประสบการณ์ชั้นต้น ๆ เหมาะสำหรับเด็กโต ประสบการณ์ชั้นบน ๆ เหมาะสำหรับเด็กเล็กเจมส์เอส. คินเดอร์ (James S. Kinder) ได้จัดแบ่งไว้เป็น 3 ลำดับ โดยยึดหลักว่าความเข้าใจในสิ่งที่เป็นรูปธรรมย่อมง่ายกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม โดยแสดงด้วยไดอะแกรมที่เรียกว่าPerspective of Audio visual
- ประสบการณ์แทนด้วยคำพูด ใช้สัญญลักษณ์ซึ่งเป็นนามธรรมแทนของจริง เช่น คำพูด การเขียน สูตรต่าง ๆ
- ประสบการณ์แทนด้วยโสตทัศนวัสดุ เช่น ของตัวอย่าง รูปภาพ หุ่นจำลอง ภาพเลื่อน ภาพยนตร์
- ประสบการณ์ตรง ประสบการณ์และการกระทำด้วยตนเอง เช่น การสัมภาษณ์ ทัศนศึกษา กิจกรรมบริการและประสบการณ์จากการทำงาน
3. สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติ Wilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้
1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ
2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ
3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายสไลด์
5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯ
4. สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ (Form)Louis Shoresได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้
1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ
2 วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ
3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง
5. สื่อการเรียนการสอนตามลักษณะและการใช้
1. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware)
2. วัสดุ (Software)
3. เทคนิคหรือวิธีการ (Techinques or Methods)
ประโยชน์และคุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการสอนมีประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนการสอน ดังนี้
3.5.1 ทำให้เนื้อหาความรู้ที่สอนมีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้น
3.5.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ในปริมาณที่มากขึ้นในเวลาที่กำหนด
3.5.3 เร้าความสนใจของผู้เรียน
3.5.4 เป็นเครื่องชี้แนะการตอบสนองของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใด
3.5.5 ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะ และกระบวนการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
3.5.6 เอาชนะขีดจำกัดต่าง ๆ ทางกายภาพ เช่น
- ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
- ทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
- ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวให้เร็วขึ้นหรือช้าลงได้
- ขยาย หรือย่อขนาดของสื่อให้การศึกษาได้
- นำอดีตมาศึกษาได้
- นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
3.5.7 เป็นเครื่องมือของครูในการวินิจฉัยผลการเรียนและช่วยการสอนได้
คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ
1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน
1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรมสื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนที่มีต่อผู้เรียน
- ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน
- ช่วยให้การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว
- ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้
- ช่วยให้เกิดปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
- ช่วยให้สมมารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้
- ช่วยให้ผู้เรียน เรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน
- ช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่วยต่อการเรียน
การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหาสาระ ความรู้สึกนึกคิดทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลที่เป็นฝ่ายผู้ส่งไปยังฝ่ายผู้รับ
การสื่อความหมาย (Communications) หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด จากผู้ส่งไปยังผู้รับ หรือจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่น ๆ ให้เกิดความรู้สึก ความเข้าใจตรงกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันการสื่อความหมายมีลักษณะเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
3.1.1 ผู้ส่งสาร (Sender) คือผู้ที่สื่อความหมายไปยังผู้รับ
3.1.2 สาร (Message) คือ เรื่องราวข้อมูล ที่ผู้ส่งสารต้องการให้ผู้รับเกิดพฤติกรรมตามที่ต้องการ
3.1.3 สื่อหรือช่องทาง (Channel) เป็นตัวที่ทำให้เนื้อหาสาระ มีรูปร่างลักษณะที่เหมาะสมกับการไปถึงผู้รับสารได้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน รูปภาพ ท่าทาง สัญลักษณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ เป็นต้น
3.1.4 ผู้รับสาร (Receiver) ผู้รับสารที่ผ่านมาโดยใช้ประสาทสัมผัส ทางใดทางหนึ่งในการรับ เช่น ตามองดู หูรับฟัง เป็นต้น
กระบวนการสื่อความหมาย และอุปสรรคในการสื่อความหมาย
กระบวนการสื่อความหมาย (Communication Process) เพื่อให้การสื่อความหมายบรรลุตามวัตถุประสงค์นั้น สิ่งที่สำคัญคือ ต้องอาศัย ความรู้ ประสบการณ์ของผู้ส่งสาร และผู้รับสารที่ใกล้เคียงกัน หรือมีปัจจัยพื้นฐานร่วมกัน (Common factor) ซึ่งได้แก่
- ระบบสังคม
- ระดับการศึกษา
- วัฒนธรรม
- อาชีพ
- ฐานะทางเศรษฐกิจ
- ถิ่นที่อยู่
- เพศ/อายุ
- ความปกติทางร่างกาย
การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน คือการจัดทำสื่อให้น่าสนใจ น่าติดตาม เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ผลิตจะต้องออกแบบและอาศัยความรู้ความชำนาญด้านศิลปะเข้ามาช่วยในการจัดทำให้หัวข้อย่อยหรือโครงสร้างข้อมูลที่กำหนดไว้นั้นเป็นรูปเป็นร่าง มีรูปแบบที่สวยงาม สามารถสื่อความหมายได้เหมาะสมกับเนื้อหา รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นเทคนิคต่าง ๆ ที่ทำให้สื่อที่ผลิตนั้น .สะดวกต่อการใช้ ง่ายต่อการเข้าใจ. จะทำให้สื่อที่ผลิตนั้นมีคุณค่า และมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี
การออกแบบสื่อ
องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย
สื่อการสอน
คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอนเป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขยายการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกันระบบการการเรียนการสอนระบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ
1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
2. พิจารณาพฤติกรรมพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาต่อไป เพื่อจะได้จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี
4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน
5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน ดังกล่าว แสดงได้ดังนี้การสร้างแบบจำลองและการออกแบบ
สื่อการเรียนการสอน ตามประเภท
1. แบบจำลองเชิงนามธรรม เชิงแนวคิด หรือแบบจำลองที่เป็นซอฟต์แวร์ เช่น แบบจำลองคณิตศาสตร์ แบบจำลองวิทยาศาสตร์ แบบจำลองคอมพิวเตอร์ ทฤษฎีการสร้างแบบจำลอง แบบจำลองความคิด เป็นต้น แบบจำลองเชิงนามธรรม หรือแบบจำลองเชิงแนวคิด เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเชิงทฤษฎีเพื่อแทนกระบวนการเชิงสังคม เชิงชีววิทยา หรือ เชิงฟิสิกส์ ด้วยเซตของตัวแปรและเซตของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านั้นทั้งเชิงตรรก และ เชิงปริมาณ แบบจำลองจะถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงเหตุผลภายในกรอบงานเชิงตรรกในอุมดมคติของกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งสำคัญต่อทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์โดยแบบจำลองเป็นสิ่งที่
2.แบบจำลองที่เป็นรูปธรรม ใช้แทนวัตถุได้ เช่น ตัวแบบ แบบจำลองสามมิติ บ้านจำลอง รถจำลอง แบบจำลองในเกม เป็นต้น
จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยา ( Psychology) หมายถึง วิชาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ โดยมีการศึกษาพฤติกรรมหรือการกระทำของสัตว์ เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวมาประยุกต์ใช้และเปรียบเทียบกับลักษณะการกระทำของมนุษย์ต่อไป นอกจากนั้น จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจใน
พัฒนาการ(Development) หมายถึง ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีระเบียบแบบแผน งานพัฒนาการต่างๆจะเป็นกระบวนการเฉพาะอย่าง ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหลายๆแง่ เช่น ทางด้านสรีระทางโครงสร้างของรูปร่างและอื่นๆ เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุก วัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอดจนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัย
วิธีศึกษาพัฒนาการของมนุษย์
l D.G. Marquis สรุปไว้ว่า ขั้นตอนของการศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 ขั้นปัญหา (Problem)
ขั้นที่ 2 การทบทวนความรู้ (Review of knowledge)
ขั้นที่ 3 การสังเกต (Observation)
ขั้นที่ 4 การตั้งสมมติฐานหรือการตั้งทฤษฎีขึ้นมา (Hypothesis)
ขั้นที่ 5 ทดสอบสมมติฐาน (Testing)
l Allport ได้กล่าวถึงวิธีการศึกษาทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการไว้ว่า จิตวิทยาพัฒนาการจะมีวิธีการศึกษา 2 วิธี คือ
1. Nomothetic approach
2. Idiographic Approach
วิธีการเก็บข้อมูลในจิตวิทยาพัฒนาการ
1. การสังเกต(Observation)
2. รายงานระเบียนพฤติการณ์(Anecdotal report)
3. การเขียนชีวประวัติส่วนตัว (Authobiography)
4. การใช้แบบสอบถามหรือแบบสำรวจ (Questionnaires or Check lists)
5. การสัมภาษณ์ (Interview)
6. มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale)
7. กลวิธีระบายความในใจ (Projective techniques)
8. วิธีการทดลอง (Experimental techniques)
9. วิธีการศึกษาทางสรีระ (Psychophysical study)
10. วิธีการศึกษาเด็กเป็นรายกรณี (Clinical case Study)l ความสามารถที่สมองคิดทำงานเหนือสมองส่วนหยาบ ความสามรถในการควบคุมใจตัวเอง ความสามารถในการยับยั้งชั่งใจตัวเอง หรือที่เข้าใจกันว่า อีคิว (Emotional Quotient)เป็นการบรรลุถึงความพร้อม ซึ่งเป็นผลของการเจริญเติบโตที่เป็นไปตามพัฒนาการของวัยต่างๆ จนบรรลุถึงความสามารถในการปรับตัว สามารถทำหน้าที่ต่างๆได้สำเร็จ ได้มีการแบ่ง
วุฒิภาวะออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.วุฒิภาวะทางกาย (Mature Growth)
2. วุฒิภาวะทางใจ (Maturity)
1.วุฒิภาวะทางกาย (Mature Growth)เป็นการบรรลุถึงความพร้อมด้านร่างกาย ทั้งการเจริญเติบโตด้านโครงสร้างร่างกาย ระบบประสาทที่สั่งการให้อวัยวะและกล้ามเนื้อทำงาน เช่น เด็กที่มีวุฒิภาวะทางกายพร้อมที่จะเข้าเรียนได้แล้ว สมองจะต้องสามารถบังคับกล้ามเนื้อ แขน มือ และนิ้วให้จับดินสอได้ ตาสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
2. วุฒิภาวะทางใจ (Maturity)เป็นการบรรลุถึงความพร้อมในการควบคุมอารมณ์และการใช้เหตุผล ส่วนมากเกิดจากการเรียนรู้เอง และการได้รับการอบรมฝึกฝน
ฉะนั้นวุฒิภาวะทางใจอาจไม่เท่ากันในคนอายุเท่ากัน คนอายุน้อยอาจมีวุฒิภาวะทางใจสูงกว่าคนอายุมากกว่าได้ วุฒิภาวะทางใจจะเจริญเต็มที่ในวัยกลางคน ในขณะที่วุฒิภาวะทางกายจะเจริญถึงขั้นสูงสุด เมื่อสิ้นสุดวัยรุ่นจิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
การเรียนรู้ (Lrarning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเองอย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์ (โบเวอร์ และอัลการ์ด 1987, อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน,2532:285) ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์ และฮิลการ์ด ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน (Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์
การเรียนรู้ของคนเรา เกิดจากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนดังที่ กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530) กล่าวไว้ดังนี้"…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า (stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (organism) ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ (sensation) ด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญชาน หรือการรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้ว ก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป (conception) แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง (response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…"การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
1 ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2 สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3 การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล
4 การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย
ลำดับขั้นของการเรียนรู้ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
(1) ประสบการณ์
(2) ความเข้าใจ
(3) ความนึกคิด
1. ประสบการณ์ (experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วยประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์
2. ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจำ (retain) ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "ความเข้าใจ"ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์ (analyze) และสังเคราะห์ (synthesis) ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
3 ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง Crow (1948) ได้กล่าวว่า ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ (organize) ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริงจิตวิทยาการรับรู้ (Perception)การรับรู้ เป็นเหตการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์ประสาทสมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิต ไม่ใช่จิตทั้งหมด จัดเป็นประเภทอสสาร สามารถ Observe หรือ Experienceได้ด้วยวิธีพินิจภายใน(Introspection)การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious) คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้ แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในเสี้ยววินาที คนทั่วไปจะแยกไม่ออก ผมเองก็แยกไม่ออก แต่ผมใช้เหตุผลมาแยกขั้นตอนการเกิดออกได้ คือ เพราะว่าเราอยู่ในภาวะการรู้สึก ดังนั้นเราจึงรู้สึกสัมผัส และเพราะว่าเรารู้สึกสัมผัส ดังนั้นเราจึงรู้ความหมาย เป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้สึกสัมผัสก่อนการรู้สึก และเป็นไปไม่ได้ที่เราจะตีความเสียงดังปังก่อนการรู้สึกสัมผัส ดังนั้นมันจะต้องเกิดเป็นขั้นๆ นับจากขั้นการรู้สึก การรู้สึกสัมผัส การตีความให้รู้ความหมาย อย่างแน่นอนถ้าเราวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้จะได้ดังนี้ คลื่นเสียงเดินทางเข้ากระตุ้นที่หู แล้วเกิดการเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นกระแสประสาท จากนั้นจึงเดินทางต่อไปจนถึงแดนการรู้สึกได้ยินคือ Auditory cortex ที่สมองบริเวณขมับ กระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเหตุการณ์ทางกาย ทางวัตถุ หรือทางสสาร แต่ในทันใดนั้น การรู้สึกได้ยินเสียงก็เกิดขึ้น(การรู้สึกสัมผัส-sensation) กระแสประสาทจากนิวโรนกลุ่มนั้นจะกระตุ้นนิวโรนข้างเคียงต่อๆกันไปเรื่อยๆ จนอ่อนกำลัง เมื่อนิวโรนข้างเคียงได้รับการกระตุ้น (กาย) ความรู้สึก(จิต)ก็เกิดขึ้นด้วยควบคู่กัน แต่ความรู้สึกในคราวนี้เรียกว่า การระลึก(Recall หรือ Retrieval) ผลจากการระลึกนี้จะโยงสัมพันธ์กับการรู้สึกสัมผัสที่เกิดอยู่ก่อนแล้วนั้น ทำให้เกิดการรู้ความหมายขึ้น เรียกว่า การรับรู้การรับรู้เป็นเหตุการณ์ทางจิต เกิดจากกิจกรรมของกลุ่มนิวโรน มันจึงต้องเกิดขึ้นในสมอง เพราะนิวโรนเป็นเซลล์ประสาทที่รวมตัวกันเป็นก้อนสมอง ในเมื่อมันอยู่ในสมอง เราจึงดูด้วยตาไม่เห็น แลแม้ว่าเราจะเปิดกระโหลกเข้าไปดูสมองได้ แต่เราก็จะไม่เห็น ความรู้สึกได้ยินเสียง นั้นเลย เพราะมันเป็นอสสาร ไม่มีทางที่เราจะมองเห็นการรู้สึกเจ็บ การรู้สึกรัก ฯลฯ วิ่งไปมาอยู่ในสมองได้เลย ดังนั้น เราต้อง เดา เอาเอง การเดาเอาเองนี้เรียกให้ไพเราะขึ้นก็ว่า เราสันนิษฐาน และผลของการสันนิษฐาน เราเรียกว่าภาวสันนิษฐาน หรือ Construct ที่ได้กล่าวให้ท่านหูอื้อเล่นมาแล้วในเรื่อง Concept นั่นก็คือ การรู้สึกสัมผัสก็ดี การรับรู้ก็ดี เป็น Construct และด้วยเหตุที่มันเป็นผลของกิจกรรมของกลุ่มนิวโรน มันจึงต้องโยงสัมพันธ์กับกลุ่มนิวโรนนั้นๆ ถ้าสักวันหนึ่งเราสามารถมองเห็นกิจกรรมของกลุ่มนิวโรนนั้นๆ(วัตถุ)ที่เกิดควบคู่กับความรู้สึกนั้นๆ(จิต) แล้ว ภาวสันนิษฐานนั้นก็เป็นของจริง(Entity/Fact)การรู้สึก การรู้สึกสัมผัส การรับรู้ ต่างก็เป็น ชื่อ ของภาวสันนิษฐาน มันต่างก็เป็นลักษณะหนึ่งของจิตในจำนวนลักษณะของจิตที่มีอยู่มากมาย ภาวสันนิษฐานเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยถูกปฏิเสธจากกลุ่มพฤติกรรมนิยมแบบ Radical ยังผลให้การวิจัยเรื่องจิตเงียบหายไปราว 60 ปี บัดนี้เราได้เข้าไปศึกษาจิตอีกครั้งหนึ่ง ด้วยความสนุกสนานมากกว่าเดิม และรวดเร็ว เพราะได้ยืมเครื่องมือสำคัญของ Behaviorism มาใช้ คือ Scientific Method หรือ Empirical Research ภายใต้ธงที่ชื่อ COGNITIVE PSYCHOLOGY
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึก ปฏิบัติ
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์
1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง
2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตราย ไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า
3. ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น
4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้ อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด
5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง
6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง
7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์
8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
9. ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น
10.วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตาม เราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา การพิจารณาในการเลือกใช้ลำดับประสบการณ์ ในการเรียนการสอน ไม่ถือว่าประสบการณ์ขั้นแรกมีความสำคัญ และจำเป็นกว่าขั้นหลัง ๆ เราอาจจะใช้ขั้นใดก็ได้ที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องใช้หลาย ๆ ประสบการณ์ปะปนกันตามความเหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ เนื้อหา และสถานการณ์ในการสอน ประสบการณ์ตรงบางครั้งก็ไม่เหมาะที่จะจัดให้นักเรียน เช่น อาจเสี่ยงอันตราย หรือผิดศีลธรรม และต้องไม่ถือว่าประสบการณ์ชั้นต้น ๆ เหมาะสำหรับเด็กโต ประสบการณ์ชั้นบน ๆ เหมาะสำหรับเด็กเล็กเจมส์เอส. คินเดอร์ (James S. Kinder) ได้จัดแบ่งไว้เป็น 3 ลำดับ โดยยึดหลักว่าความเข้าใจในสิ่งที่เป็นรูปธรรมย่อมง่ายกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม โดยแสดงด้วยไดอะแกรมที่เรียกว่าPerspective of Audio visual
- ประสบการณ์แทนด้วยคำพูด ใช้สัญญลักษณ์ซึ่งเป็นนามธรรมแทนของจริง เช่น คำพูด การเขียน สูตรต่าง ๆ
- ประสบการณ์แทนด้วยโสตทัศนวัสดุ เช่น ของตัวอย่าง รูปภาพ หุ่นจำลอง ภาพเลื่อน ภาพยนตร์
- ประสบการณ์ตรง ประสบการณ์และการกระทำด้วยตนเอง เช่น การสัมภาษณ์ ทัศนศึกษา กิจกรรมบริการและประสบการณ์จากการทำงาน
3. สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติ Wilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้
1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ
2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ
3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายสไลด์
5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯ
4. สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ (Form)Louis Shoresได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้
1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ
2 วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ
3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง
5. สื่อการเรียนการสอนตามลักษณะและการใช้
1. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware)
2. วัสดุ (Software)
3. เทคนิคหรือวิธีการ (Techinques or Methods)
ประโยชน์และคุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการสอนมีประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนการสอน ดังนี้
3.5.1 ทำให้เนื้อหาความรู้ที่สอนมีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้น
3.5.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ในปริมาณที่มากขึ้นในเวลาที่กำหนด
3.5.3 เร้าความสนใจของผู้เรียน
3.5.4 เป็นเครื่องชี้แนะการตอบสนองของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใด
3.5.5 ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะ และกระบวนการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
3.5.6 เอาชนะขีดจำกัดต่าง ๆ ทางกายภาพ เช่น
- ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
- ทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
- ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวให้เร็วขึ้นหรือช้าลงได้
- ขยาย หรือย่อขนาดของสื่อให้การศึกษาได้
- นำอดีตมาศึกษาได้
- นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
3.5.7 เป็นเครื่องมือของครูในการวินิจฉัยผลการเรียนและช่วยการสอนได้
คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ
1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน
1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรมสื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนที่มีต่อผู้เรียน
- ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน
- ช่วยให้การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว
- ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้
- ช่วยให้เกิดปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
- ช่วยให้สมมารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้
- ช่วยให้ผู้เรียน เรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน
- ช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่วยต่อการเรียน
การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหาสาระ ความรู้สึกนึกคิดทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลที่เป็นฝ่ายผู้ส่งไปยังฝ่ายผู้รับ
การสื่อความหมาย (Communications) หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด จากผู้ส่งไปยังผู้รับ หรือจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่น ๆ ให้เกิดความรู้สึก ความเข้าใจตรงกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันการสื่อความหมายมีลักษณะเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
3.1.1 ผู้ส่งสาร (Sender) คือผู้ที่สื่อความหมายไปยังผู้รับ
3.1.2 สาร (Message) คือ เรื่องราวข้อมูล ที่ผู้ส่งสารต้องการให้ผู้รับเกิดพฤติกรรมตามที่ต้องการ
3.1.3 สื่อหรือช่องทาง (Channel) เป็นตัวที่ทำให้เนื้อหาสาระ มีรูปร่างลักษณะที่เหมาะสมกับการไปถึงผู้รับสารได้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน รูปภาพ ท่าทาง สัญลักษณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ เป็นต้น
3.1.4 ผู้รับสาร (Receiver) ผู้รับสารที่ผ่านมาโดยใช้ประสาทสัมผัส ทางใดทางหนึ่งในการรับ เช่น ตามองดู หูรับฟัง เป็นต้น
กระบวนการสื่อความหมาย และอุปสรรคในการสื่อความหมาย
กระบวนการสื่อความหมาย (Communication Process) เพื่อให้การสื่อความหมายบรรลุตามวัตถุประสงค์นั้น สิ่งที่สำคัญคือ ต้องอาศัย ความรู้ ประสบการณ์ของผู้ส่งสาร และผู้รับสารที่ใกล้เคียงกัน หรือมีปัจจัยพื้นฐานร่วมกัน (Common factor) ซึ่งได้แก่
- ระบบสังคม
- ระดับการศึกษา
- วัฒนธรรม
- อาชีพ
- ฐานะทางเศรษฐกิจ
- ถิ่นที่อยู่
- เพศ/อายุ
- ความปกติทางร่างกาย
การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน คือการจัดทำสื่อให้น่าสนใจ น่าติดตาม เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ผลิตจะต้องออกแบบและอาศัยความรู้ความชำนาญด้านศิลปะเข้ามาช่วยในการจัดทำให้หัวข้อย่อยหรือโครงสร้างข้อมูลที่กำหนดไว้นั้นเป็นรูปเป็นร่าง มีรูปแบบที่สวยงาม สามารถสื่อความหมายได้เหมาะสมกับเนื้อหา รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นเทคนิคต่าง ๆ ที่ทำให้สื่อที่ผลิตนั้น .สะดวกต่อการใช้ ง่ายต่อการเข้าใจ. จะทำให้สื่อที่ผลิตนั้นมีคุณค่า และมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี
การออกแบบสื่อ
องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย
สื่อการสอน
คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอนเป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขยายการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกันระบบการการเรียนการสอนระบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ
1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
2. พิจารณาพฤติกรรมพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาต่อไป เพื่อจะได้จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี
4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน
5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน ดังกล่าว แสดงได้ดังนี้การสร้างแบบจำลองและการออกแบบ
สื่อการเรียนการสอน ตามประเภท
1. แบบจำลองเชิงนามธรรม เชิงแนวคิด หรือแบบจำลองที่เป็นซอฟต์แวร์ เช่น แบบจำลองคณิตศาสตร์ แบบจำลองวิทยาศาสตร์ แบบจำลองคอมพิวเตอร์ ทฤษฎีการสร้างแบบจำลอง แบบจำลองความคิด เป็นต้น แบบจำลองเชิงนามธรรม หรือแบบจำลองเชิงแนวคิด เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเชิงทฤษฎีเพื่อแทนกระบวนการเชิงสังคม เชิงชีววิทยา หรือ เชิงฟิสิกส์ ด้วยเซตของตัวแปรและเซตของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านั้นทั้งเชิงตรรก และ เชิงปริมาณ แบบจำลองจะถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงเหตุผลภายในกรอบงานเชิงตรรกในอุมดมคติของกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งสำคัญต่อทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์โดยแบบจำลองเป็นสิ่งที่
2.แบบจำลองที่เป็นรูปธรรม ใช้แทนวัตถุได้ เช่น ตัวแบบ แบบจำลองสามมิติ บ้านจำลอง รถจำลอง แบบจำลองในเกม เป็นต้น
จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยา ( Psychology) หมายถึง วิชาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ โดยมีการศึกษาพฤติกรรมหรือการกระทำของสัตว์ เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวมาประยุกต์ใช้และเปรียบเทียบกับลักษณะการกระทำของมนุษย์ต่อไป นอกจากนั้น จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจใน
พัฒนาการ(Development) หมายถึง ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีระเบียบแบบแผน งานพัฒนาการต่างๆจะเป็นกระบวนการเฉพาะอย่าง ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหลายๆแง่ เช่น ทางด้านสรีระทางโครงสร้างของรูปร่างและอื่นๆ เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุก วัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอดจนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัย
วิธีศึกษาพัฒนาการของมนุษย์
l D.G. Marquis สรุปไว้ว่า ขั้นตอนของการศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 ขั้นปัญหา (Problem)
ขั้นที่ 2 การทบทวนความรู้ (Review of knowledge)
ขั้นที่ 3 การสังเกต (Observation)
ขั้นที่ 4 การตั้งสมมติฐานหรือการตั้งทฤษฎีขึ้นมา (Hypothesis)
ขั้นที่ 5 ทดสอบสมมติฐาน (Testing)
l Allport ได้กล่าวถึงวิธีการศึกษาทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการไว้ว่า จิตวิทยาพัฒนาการจะมีวิธีการศึกษา 2 วิธี คือ
1. Nomothetic approach
2. Idiographic Approach
วิธีการเก็บข้อมูลในจิตวิทยาพัฒนาการ
1. การสังเกต(Observation)
2. รายงานระเบียนพฤติการณ์(Anecdotal report)
3. การเขียนชีวประวัติส่วนตัว (Authobiography)
4. การใช้แบบสอบถามหรือแบบสำรวจ (Questionnaires or Check lists)
5. การสัมภาษณ์ (Interview)
6. มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale)
7. กลวิธีระบายความในใจ (Projective techniques)
8. วิธีการทดลอง (Experimental techniques)
9. วิธีการศึกษาทางสรีระ (Psychophysical study)
10. วิธีการศึกษาเด็กเป็นรายกรณี (Clinical case Study)l ความสามารถที่สมองคิดทำงานเหนือสมองส่วนหยาบ ความสามรถในการควบคุมใจตัวเอง ความสามารถในการยับยั้งชั่งใจตัวเอง หรือที่เข้าใจกันว่า อีคิว (Emotional Quotient)เป็นการบรรลุถึงความพร้อม ซึ่งเป็นผลของการเจริญเติบโตที่เป็นไปตามพัฒนาการของวัยต่างๆ จนบรรลุถึงความสามารถในการปรับตัว สามารถทำหน้าที่ต่างๆได้สำเร็จ ได้มีการแบ่ง
วุฒิภาวะออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.วุฒิภาวะทางกาย (Mature Growth)
2. วุฒิภาวะทางใจ (Maturity)
1.วุฒิภาวะทางกาย (Mature Growth)เป็นการบรรลุถึงความพร้อมด้านร่างกาย ทั้งการเจริญเติบโตด้านโครงสร้างร่างกาย ระบบประสาทที่สั่งการให้อวัยวะและกล้ามเนื้อทำงาน เช่น เด็กที่มีวุฒิภาวะทางกายพร้อมที่จะเข้าเรียนได้แล้ว สมองจะต้องสามารถบังคับกล้ามเนื้อ แขน มือ และนิ้วให้จับดินสอได้ ตาสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
2. วุฒิภาวะทางใจ (Maturity)เป็นการบรรลุถึงความพร้อมในการควบคุมอารมณ์และการใช้เหตุผล ส่วนมากเกิดจากการเรียนรู้เอง และการได้รับการอบรมฝึกฝน
ฉะนั้นวุฒิภาวะทางใจอาจไม่เท่ากันในคนอายุเท่ากัน คนอายุน้อยอาจมีวุฒิภาวะทางใจสูงกว่าคนอายุมากกว่าได้ วุฒิภาวะทางใจจะเจริญเต็มที่ในวัยกลางคน ในขณะที่วุฒิภาวะทางกายจะเจริญถึงขั้นสูงสุด เมื่อสิ้นสุดวัยรุ่นจิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
การเรียนรู้ (Lrarning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเองอย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์ (โบเวอร์ และอัลการ์ด 1987, อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน,2532:285) ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์ และฮิลการ์ด ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน (Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์
การเรียนรู้ของคนเรา เกิดจากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนดังที่ กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530) กล่าวไว้ดังนี้"…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า (stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (organism) ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ (sensation) ด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญชาน หรือการรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้ว ก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป (conception) แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง (response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…"การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
1 ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2 สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3 การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล
4 การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย
ลำดับขั้นของการเรียนรู้ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
(1) ประสบการณ์
(2) ความเข้าใจ
(3) ความนึกคิด
1. ประสบการณ์ (experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วยประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์
2. ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจำ (retain) ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "ความเข้าใจ"ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์ (analyze) และสังเคราะห์ (synthesis) ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
3 ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง Crow (1948) ได้กล่าวว่า ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ (organize) ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริงจิตวิทยาการรับรู้ (Perception)การรับรู้ เป็นเหตการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์ประสาทสมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิต ไม่ใช่จิตทั้งหมด จัดเป็นประเภทอสสาร สามารถ Observe หรือ Experienceได้ด้วยวิธีพินิจภายใน(Introspection)การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious) คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้ แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในเสี้ยววินาที คนทั่วไปจะแยกไม่ออก ผมเองก็แยกไม่ออก แต่ผมใช้เหตุผลมาแยกขั้นตอนการเกิดออกได้ คือ เพราะว่าเราอยู่ในภาวะการรู้สึก ดังนั้นเราจึงรู้สึกสัมผัส และเพราะว่าเรารู้สึกสัมผัส ดังนั้นเราจึงรู้ความหมาย เป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้สึกสัมผัสก่อนการรู้สึก และเป็นไปไม่ได้ที่เราจะตีความเสียงดังปังก่อนการรู้สึกสัมผัส ดังนั้นมันจะต้องเกิดเป็นขั้นๆ นับจากขั้นการรู้สึก การรู้สึกสัมผัส การตีความให้รู้ความหมาย อย่างแน่นอนถ้าเราวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้จะได้ดังนี้ คลื่นเสียงเดินทางเข้ากระตุ้นที่หู แล้วเกิดการเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นกระแสประสาท จากนั้นจึงเดินทางต่อไปจนถึงแดนการรู้สึกได้ยินคือ Auditory cortex ที่สมองบริเวณขมับ กระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเหตุการณ์ทางกาย ทางวัตถุ หรือทางสสาร แต่ในทันใดนั้น การรู้สึกได้ยินเสียงก็เกิดขึ้น(การรู้สึกสัมผัส-sensation) กระแสประสาทจากนิวโรนกลุ่มนั้นจะกระตุ้นนิวโรนข้างเคียงต่อๆกันไปเรื่อยๆ จนอ่อนกำลัง เมื่อนิวโรนข้างเคียงได้รับการกระตุ้น (กาย) ความรู้สึก(จิต)ก็เกิดขึ้นด้วยควบคู่กัน แต่ความรู้สึกในคราวนี้เรียกว่า การระลึก(Recall หรือ Retrieval) ผลจากการระลึกนี้จะโยงสัมพันธ์กับการรู้สึกสัมผัสที่เกิดอยู่ก่อนแล้วนั้น ทำให้เกิดการรู้ความหมายขึ้น เรียกว่า การรับรู้การรับรู้เป็นเหตุการณ์ทางจิต เกิดจากกิจกรรมของกลุ่มนิวโรน มันจึงต้องเกิดขึ้นในสมอง เพราะนิวโรนเป็นเซลล์ประสาทที่รวมตัวกันเป็นก้อนสมอง ในเมื่อมันอยู่ในสมอง เราจึงดูด้วยตาไม่เห็น แลแม้ว่าเราจะเปิดกระโหลกเข้าไปดูสมองได้ แต่เราก็จะไม่เห็น ความรู้สึกได้ยินเสียง นั้นเลย เพราะมันเป็นอสสาร ไม่มีทางที่เราจะมองเห็นการรู้สึกเจ็บ การรู้สึกรัก ฯลฯ วิ่งไปมาอยู่ในสมองได้เลย ดังนั้น เราต้อง เดา เอาเอง การเดาเอาเองนี้เรียกให้ไพเราะขึ้นก็ว่า เราสันนิษฐาน และผลของการสันนิษฐาน เราเรียกว่าภาวสันนิษฐาน หรือ Construct ที่ได้กล่าวให้ท่านหูอื้อเล่นมาแล้วในเรื่อง Concept นั่นก็คือ การรู้สึกสัมผัสก็ดี การรับรู้ก็ดี เป็น Construct และด้วยเหตุที่มันเป็นผลของกิจกรรมของกลุ่มนิวโรน มันจึงต้องโยงสัมพันธ์กับกลุ่มนิวโรนนั้นๆ ถ้าสักวันหนึ่งเราสามารถมองเห็นกิจกรรมของกลุ่มนิวโรนนั้นๆ(วัตถุ)ที่เกิดควบคู่กับความรู้สึกนั้นๆ(จิต) แล้ว ภาวสันนิษฐานนั้นก็เป็นของจริง(Entity/Fact)การรู้สึก การรู้สึกสัมผัส การรับรู้ ต่างก็เป็น ชื่อ ของภาวสันนิษฐาน มันต่างก็เป็นลักษณะหนึ่งของจิตในจำนวนลักษณะของจิตที่มีอยู่มากมาย ภาวสันนิษฐานเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยถูกปฏิเสธจากกลุ่มพฤติกรรมนิยมแบบ Radical ยังผลให้การวิจัยเรื่องจิตเงียบหายไปราว 60 ปี บัดนี้เราได้เข้าไปศึกษาจิตอีกครั้งหนึ่ง ด้วยความสนุกสนานมากกว่าเดิม และรวดเร็ว เพราะได้ยืมเครื่องมือสำคัญของ Behaviorism มาใช้ คือ Scientific Method หรือ Empirical Research ภายใต้ธงที่ชื่อ COGNITIVE PSYCHOLOGY
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)